สื่อบันทึกข้อมูล (Storage)

storageแผ่นดิสก์เก็ต (Diskette)

ปัจจุบันแผ่นดิสก์เกตต์ (Diskette) หรือแผ่นฟลอปปีดิสก์ (Floppy Disk) เป็นสื่อบันทึกข้อมูลที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย มีราคาไม่แพงนัก และยังสะดวกต่อการพกพาไปใช้งานยังที่ต่างๆ ลักษณะของแผ่นดิสก์เกตต์มีลักษณะเป็นแผ่นกลมบางทำจากไมลาร์ (Mylar) แล้วฉาบด้วยสารแม่เหล็กห่อหุ้มด้วยซองพลาสติก เพื่อป้องกันไม่ให้แผ่นได้รับการสัมผัสจนเกิดรอยขีดข่วน ซึ่งจะทำให้แผ่นเสียหายและป้องกันฝุ่นละออง รวมทั้งสนามแม่เหล็ก ดังนั้น เวลาใช้งานจึงต้องระมัดระวังในการหยิบแผ่นไม่ให้ถูกส่วนเนื้อของแผ่นที่ฉาบสารแม่เหล็ก แผ่นดิสก์เกตต์ที่ใช้ในกับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์มีสองขนาด คือ 5.25 นิ้ว และ 3.5 นิ้ว แต่ในปัจจุบันจะนิยมใช้ขนาด 3.5 นิ้ว เป็นส่วนใหญ่ ส่วนแผ่นขนาด 5.25 นิ้วนั้นมักจะพบในเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นเก่าๆ เท่านั้น ทั้งนี้เพราะผู้ผลิตเลิกทำการผลิตดิสก์ไดร์ฟขนาด 5.25 นิ้วไปแล้ว เป็นผลทำให้แผ่นดิสก์เกตต์ขนาด 5.25 นิ้ว แทบจะไม่มีวางขายในท้องตลาดแล้ว
ในการเก็บข้อมูลลงบนแผ่นดิสก์เกตต์ จะใช้หลักการแบ่งพื้นผิวของแผ่นดิสก์ออกเป็นวงกลมรอบแผ่นตั้งแต่เริ่มต้นจุดศูนย์กลางของแผ่นจนถึงรอบนอกสุดของแผ่นเรียกว่า แทร็ก (Track) และในแต่ละแทร็กของแผ่นดิสก์จะถูกแบ่งเป็นส่วนย่อยลงไปอีกเรียกว่า เซกเตอร์ (Sector) ความจุของข้อมุลบนแผ่นดิสก์เกตต์แต่ละขนาดขึ้นอยู่กับจำนวนแทร็กและเซกเตอร์ของแผ่นดิสก์เป็นหลัก แผ่นดิสก์เกตต์ที่นิยมใช้ทั่วไปมีอยู่ 2 ขนาด ได้แก่
1.แผ่นดิสก์เกตต์ขนาด 5.25 นิ้ว แบบ 2 หน้า ความจุสูง (Double-Side High Density : DS/HD) เป็นแผ่นดิสก์เกตต์ที่มีความจุสูง เก็บข้อมูลได้ 2 หน้า แต่ละหน้าจะถูกแบ่งออกเป็นหน้าละ 80 แทร็กๆ ละ 15 เซกเตอร์ แต่ละเซกเตอร์เก็บข้อมูลได้ 512 ไบต์ ดังนั้นความจุของข้อมูลจะเท่ากับ
ความจุข้อมูล = 2x80x15x512
= 1,228,800 bytes
หรือ = 1,228,800/1,024
= 1,200 กิโลไบต์ (KB)
หรือ = 1,200/1,024
= 1.17 เมกะไบต์ (MB) หรือประมาณ 1.2 เมกะไบต์
2.แผ่นดิสก์เกตต์ขนาด 3.5 นิ้ว แบบ 2 หน้า ความจุสูง (Double – Side High Density : DS/HD) แผ่นดิสก์ชนิดนี้สามารถเก็บข้อมูลได้ 2 ด้านเช่นเดียวกัน แต่ละด้านถูกแบ่งออกเป็นด้านละ 80 แทร็กๆละ 18 เซกเตอร์ เก็บข้อมูลได้เซกเตอร์ละ 512 ไบต์ ดังนั้นความจุของข้อมูลแบบนี้จะเท่ากับ
ความจุข้อมูล = 2x80x18x512
= 1,474,560 bytes
หรือ = 1,474,560/1,024
= 1,440 กิโลไบต์ (KB)
หรือ = 1,440/1,024
= 1.44 เมกะไบต์ (MB)
ฟลอปปีดิสก์ขนาด 3.5 นิ้ว ตัวแผ่นถูกบรรจุในซองพลาสติกอย่างแข็ง จึงมีความแข็งแรงทนทานมากกว่าแผ่นดิสก์แบบ 5.25 นิ้ว ตัวแผ่นถูกบรรจุอยู่ในซองอย่างมิดชิดป้องกันฝุ่นละอองเข้าไปทำความเสียหายให้กับแผ่นได้ ช่องอ่าน-เขียนจะเป็นโลหะปิดผนึกที่สามารถเลื่อนได้ด้วยสปริง

ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk)
ฮาร์ดดิสก์เป็นสื่อบันทึกข้อมูลที่ใช้ในการเก็บข้อมูลบนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีความสำคัญมาก เพราะจะเก็บข้อมูลทั้งหมดตั้งแต่ระบบปฏิบัติการ โปรแกรมใช้งาน และข้อมูลฮาร์ดดิสก์ หรือมักมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า ฟิกซ์ดิสก์ (Fixed Disk) เพราะว่ามักจะเป็นดิสก์ที่ยึดติดไว้แน่นภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลที่ได้รับการพัฒนามานานและยังคงได้รับการพัฒนาต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง จากในอดีตที่ฮาร์ดดิสก์มีความจุเพียง 10 ถึง 20 เมกะไบต์ มีขนาดรูปร่างที่ใหญ่ประมาณ 5 นิ้ว จนมาถึงฮาร์ดิสก์ที่มีความจุเป็นกิกะไบต์ และมีขนาดเล็กลงจนเหลือขนาดเพียงแค่ 2.5 นิ้วเท่านั้น
ภายในฮาร์ดิสก์ประกอบด้วยดิสก์หลายๆ แผ่นยึดติดกันด้วยแกนอย่างถาวร วางเรียงซ้อนกันทำให้การเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการทำได้อย่างรวดเร็ว แต่ละแผ่นของฮาร์ดดิสก์จะถูกแบ่งออกเป็นแทร็กและเซกเตอร์เช่นเดียวกันกับแผ่นดิสก์เกตต์ แต่ในฮาร์ดดิสก์จะใช้คำว่า ไซลินเดอร์ (Cylinder) แทนคำว่าแทร็ก ไซลินเดอร์หมายถึงแทร็กเดียวกันของแต่ละแผ่น ถ้าเชื่อมแทร็กเดียวกันที่อยู่ตรงกันในแต่ละแผ่นเข้าด้วยกัน เราก็จะมองเห็นเป็นไซลินเดอร์
ความจุในการเก็บข้อมูลของฮาร์ดิสก์วัดเป็นไบต์ ดังนั้นก่อนซื้อฮาร์ดิสก์มาใช้งานก็ควรจะประเมินว่า โปรแกรมที่ต้องการใช้และข้อมูลที่จะเก็บนั้น จะใช้ความจุของฮาร์ดดิสก์ประมาณเท่าไหร่ ถ้าเป็นการใช้งานโดยทั่วไป

อินเตอร์เฟซของฮาร์ดดิสก์
คือส่วนเชื่อมต่อของฮาร์ดิสก์ ที่จะเชื่อมต่อเข้าไปยังคอมพิวเตอร์ ซึ่งอินเตอร์เฟซของฮาร์ดดิสก์มีอยูมากมายหลายชนิด แต่ที่นิยมใช้ในปัจจุบันจะมีอยู่ 2 ชนิดคือ
1.E-IDE (Enhanced IDE) อินเตอร์เฟซ
คือการพัฒนาขั้นต่อมาของ IDE ซึ่งหมายถึง E-IDE ได้พัฒนาความสามารถของ IDE ขึ้นมาอีกใน
ระดับหนึ่ง ได้แก่ ความจุของฮาร์ดิสก์แบบ IDE ไม่สามารถจะมีความจุได้เกิน 528 เมกะไบต์ แต่สำหรับฮาร์ดิสก์แบบ E-IDE สามารถเพิ่มความจุได้มากถึง 8 กิกะไบต์ต่อไดร์ฟ ความเร็วของฮาร์ดดิสก์แบบ E-IDE จะมีความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลสูงสุดที่ 11.1 เมกะไบต์ต่อวินาที ซึ่งมีความเร็วที่สูงกว่า IDE มาก ทำให้มีผู้นิยมนำฮาร์ดดิสก์ชนิดนี้ไปใช้งานมาก เพราะมีประสิทธิภาพสูงและราคาต่ำ
2.SCSI (small computer system interface)
อินเตอร์เฟซแบบนี้ได้รับการพัฒนาขึ้นมาจากเหตุที่ว่าคอมพิวเตอร์มีอุปกรณ์ต่อพ่วงมากขึ้น จึงทำ
ให้มีการคิดค้นอินเตอร์เฟซแบบต่างๆ ขึ้นมาอย่างมากมาย จึงมีการพัฒนาอินเตอร์เฟซที่เป็นมาตรฐานในการเชื่อมต่อที่นอกจากจะใช้กับฮาร์ดิสก์แล้ว ยังสามารถนำไปใช้กับอุปกรณ์อื่นๆได้อีกด้วยเช่น สแกนเนอร์ ซีดีรอมไดร์ฟ ออปติคัลดิสก์ หรือเทปไดร์ฟต่างๆเป็นต้น SCSI (อ่านว่า สะ-กัด-ซี) มีความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลสูงมาก และมีราคาแพง จึงไม่ค่อยมีการนำไปใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ส่วนใหญ่จะนำไปใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ระดับเวิร์กสเตชัน หรือเครื่องเซิร์ฟเวอร์ และเครื่องคอมพิวเตอร์ตระกูลแมคอินทอซเท่านั้น

ซิปดิสก์ (Zip Disk)
เป็นสื่อบันทึกข้อมูลชนิดใหม่ที่จะมาแทนแผ่นฟลอปปีดิสก์ ขนาดความจุ 100 เมกะไบต์ ซึ่งการใช้งาน Zip Disk จะต้องใช้งานกับซิปไดร์ฟ (Zip Drive) ความสามารถในการเก็บข้อมูลของ Zip Disk จะต้องใช้งานกับซิปไดร์ฟ (Zip Drive) ความสามารถในการเก็บข้อมูลของ Zip Disk จะเก็บข้อมูลได้มากกว่าฟลอปปีดิสก์ นั่นหมายถึง แผ่น Zip Disk หนึ่งแผ่นจะเก็บข้อมูลได้เท่ากับแผ่นฟลอปปีดิสก์ 70 แผ่น และมีความเร็วในการทำงานเร็วมากกว่า ฟลอปปีดิสก์ 3-10 เท่า ราคาของ Zip Disk อยู่ในราคาประมาณ 500-600 บาทต่อแผ่น และในขณะนี้ได้มีการผลิตชิปดิสก์ขนาดความจุ 250 เมกะไบต์ ออกมาจำหน่ายในท้องตลาดแล้ว

แผ่นซีดีอาร์ (CD-R : Compact Disc Recordable)
เป็นสื่อบันทึกข้อมูลที่มีความจุสูงเหมือนกับแผ่นซีดีรอม โดยแผ่นซีดีอาร์สามารถนำไปใช้กับไดร์ฟซีดีรอมได้แต่อาจจะมีปัญหาเรื่องการอ่านแผ่นซีดีอาร์ที่เขียนแล้วไม่ได้ในบางครั้ง ดังนั้นควรใช้แผ่นซีดีอาร์กับไดร์ฟซีดีอาร์ เพราะไดร์ฟซีดีอาร์สามารถเขียนข้อมูลลงแผ่นซีดีอาร์ได้ แผ่นซีดีอาร์มีความจุประมาณ 640 เมกะไบต์ต่อแผ่น ราคาแผ่นซีดีอาร์เปล่าจะอยู่ในราคา 60-80 บาท แผ่นซีดีอาร์มีข้อจำกัดคือจะเขียนข้อมูลได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น จึงเหมาะกับการใช้เก็บข้อมูลที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเช่น ภาพถ่ายจากกล้องดิจิตอล ข้อมูลสถิติต่างๆ หรือใช้เก็บโปรแกรมที่ใช้งานต่างๆ
รูปแบบการอ่านข้อมูล การอ่านแผ่นซีดีทุกชนิด จะมีขั้นตอนดังนี้คือ แสงเลเซอร์จากหัวอ่านจะตกกระทบที่แผ่นซีดี ต่อมาอุปกรณ์ตรวจจับแสงก็รับแสงที่สะท้อนออกมาจากแผ่นได้เป็นข้อมูลที่ถูกเก็บเอาไว้
ชุดหัวอ่านซีดีรอมไดร์ฟมีฝุ่นจับมากเกินไป หรือเกิดจากการเสื่อมสภาพของอุปกรณ์ภายในไดร์ฟซีดีรอม เพราะอุปกรณ์เหล่านี้มักมีอายุการใช้งานไม่เกิน 5 ปี

แผ่นซีดีอาร์ดับบลิว (CD-RW)
เป็นสื่อบันทึกข้อมูลที่มีลักษณะคล้ายกับแผ่นซีดีอาร์ แต่แผ่น CD-RW สามารถใช้อ่านและเขียนข้อมูลลงบนแผ่น CD-RW ได้ ซึ่งจะแตกต่างจากแผ่นซีดีอาร์คือ แผ่นซีดีอาร์จะเขียนข้อมูลได้เพียงอย่างเดียว ไม่สามารถอ่านข้อมูลได้ การใช้งานแผ่น CD-RW จะต้องใช้กับไดร์ฟ CD-RW หรือในกรณีที่ใช้อ่านอย่างเดียวก็สามารถใช้กับไดร์ฟ CD-ROM ได้ ซึ่งในปัจจุบัน ไดร์ฟ CD-RW มีความเร็วในการอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีได้สูงสุด 24x และมีอินเตอร์เฟซในการใช้งานแบบ IDE นอกจากนี้ยังสามารถเขียนข้อมูลลงแผ่นได้ในความเร็วเท่ากับ 4x การใช้งานไดร์ฟ CD-RW ใช้งานง่ายเพียงแต่ติดตั้งไดร์ฟเวอร์ที่มาพร้อมกับตัวเครื่อง ก็สามารถใช้อ่าน และเขียนแผ่น CD-RW ได้ทันที หากแผ่น CD-RW แผ่นนั้นเป็นแผ่นที่ถูกเตรียมนำมาใช้งานเป็นที่เรียบร้อย (ฟอร์แมตแล้ว) แตถ้าเป็นแผ่นใหม่ก็จำเป็นต้องจัดโครงสร้าง หรือฟอร์แมตให้กับแผ่นใหม่เสียก่อนจึงจะใช้งานได้ ซึ่งจะใช้เวลาในการเตรียมแผ่นนี้ประมาณ 1 ชั่วโมง ต่อ 1 แผ่น
แผ่นดีวีดี (DVD : Digital Video Disk)
เป็นสื่อเก็บข้อมูลที่ถูกพัฒนาขึ้นมาจากพื้นฐานของเทคโนโลยีซีดีรอม ซึ่งเป็นมาตรฐานสำหรับสื่อเก็บข้อมูลยุคใหม่ ที่จะช่วยเพิ่มความจุในการจัดเก็บข้อมูลให้มากกว่าการเก็บข้อมูลในซีดีรอม เนื่องจากดีวีดีสามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่าซีดีรอม จึงทำให้เทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูลบนแผ่นต่างกัน การอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีรอมจะเป็นการอ่านข้อมูลบนแทร็กที่มีข้อมูลเพียงแทร็กเดียว แต่การเก็บข้อมูลบนแผ่นดีวีดีจะเป็นการเก็บข้อมูล 2 ชนิด ชนิดแรกคือการเก็บข้อมูลที่เป็น Navigational คือเป็นข้อมูลที่จะชี้ไปที่ข้อมูลที่มีอยู่ และอีกชนิดหนึ่งคือ Content คือข้อมูลที่เป็นเนื้อหา นอกจากนั้นการเก็บข้อมูลบนแผ่นดีวีดี จะเป็นการเก็บข้อมูลได้ทั้งด้านเดียว (Single Side) แบบสองด้าน (Double Sided) แบบชั้นเดียว (Single Layer) และแบบสองชั้น (Double Layers)
เมื่อเทคโนโลยีดีวีดีได้รับการพัฒนาขึ้นในระยะแรก แผ่นดีวีดีแบบ Single Sided และ Single Layer จะมีความจุ 4 กิกะไบต์ ส่วนแผ่นดีวีดีชนิดที่มีความจุมากที่สุด เช่น แผ่นชนิด Double Side และ Double Layers มีความจุมากถึง 18 กิกะไบต

กลับหน้าแรก

  http://www.kanchanapisek.or.th    
This site is best veiw with medium size font and 800*600 or higher resolution.
  Copyright©1999  SHARE Internet Cafe
916/14 Norasingh Rd, Mahachai, Samutsakhon
THAILAND