ประเภทของคอมพิวเตอร์

หลักเกณฑ์การแบ่งประเภทของเครื่องคอมพิวเตอร์มีอยู่หลายประการด้วยกัน ได้แก่
1.แบ่งตามลักษณะของข้อมูล

1.1 อนาลอกคอมพิวเตอร์ (Analog Computer)

Analog Computer

อนาลอกคอมพิวเตอร์ เป็นคอมพิวเตอร์ที่ทำงานโดยใช้หลักการวัด โดยรับข้อมูลในลักษณะของปริมาณที่มีค่าต่อเนื่องกัน (Continous Data) เช่น ความเร็ว ความดัน และอุณหภูมิ เป็นต้น ตัวอย่างเช่น อุณหภูมิของร่างกาย หรือความเร็วของรถยนต์ โดยรับข้อมูลจากแหล่งที่เกิดโดยตรง แล้วแสดงผลลัพธ์ออกมาทางจอภาพ ผลลัพธ์ของคอมพิวเตอร์ประเภทนี้ส่วนมากออกมาเป็นตัวเลขหรือเส้นกราฟต่างๆ ตัวอย่างของอนาลอกคอมพิวเตอร์ ได้แก่ คอมพิวเตอร์ที่ใช้ตรวจวัดสายตา และตรวจคลื่นสมอง คอมพิวเตอร์ที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมและคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการบอกสภาพอากาศ เป็นต้น

1.2 ดิจิตอลคอมพิวเตอร์ (Digital Computer)

Digital Computer

ดิจิตอลคอมพิวเตอร์ เป็นคอมพิวเตอร์ที่ทำงานโดยใช้หลักการนับ โดยรับข้อมูลในลักษณะของตัวเลข และให้ผลลัพธ์ที่ได้จะแม่นยำกว่า Analog Computer ซึ่งคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันโดยทั่วไปเป็นคอมพิวเตอร์ประเภทนี้

1.3 ไฮบริดคอมพิวเตอร์ (Hybrid Computer)

Hybrid Computer

ไฮบริดคอมพิวเตอร์ เป็นการนำข้อดีของคอมพิวเตอร์ทั้ง 2 ประเภทมารวมกัน โดยจุดมุ่งหมายเพื่อใช้กับงานด้านวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรม เช่นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในโรงพยาบาลในการวัดการเต้นของหัวใจของคนไข้ โดยวัดด้วยส่วนของอนาลอกคอมพิวเตอร์ ต่อจากนั้นทำการแปลงข้อมูลเป็นตัวเลข เพื่อส่งให้ดิจิตอลคอมพิวเตอร์ทำการประมวลผลเป็นต้น

2.แบ่งตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน

2.1 คอมพิวเตอร์ที่ใช้กับงานทั่วไป (General – Purpose Computer)

computer

เช่น คอมพิวเตอร์ที่ใช้ได้กับงานหลายๆด้านในเครื่องเดียวกัน เช่นงานทางด้านบัญชี ทางวิทยาศาสตร์ กราฟิก เป็นต้น

2.2 คอมพิวเตอร์ที่ใช้กับงานเฉพาะด้าน (Special – Purpose Computer)

ATM

คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ได้แก่ คอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นมาเพื่อใช้กับงานใดงานหนึ่งเฉพาะอย่างเท่านั้น เช่น เครื่อง ATM ที่ใช้ในการฝากถอนเงิน อัตโนมัติ หรือคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการควบคุมเครื่องจักรอุตสาหกรรมเท่านั้น

3. แบ่งตามขีดความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์
เช่น แบ่งตามความเร็วในการประมวลข้อมูล หรือความจุของหน่วยความจำหลัก

3.1 ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer)
เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ใช้ไมโครโพรเซสเซอร์ (Microprocessor) เป็นตัวประมวลผล เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันในปัจจุบันมีอยู่ด้วยกัน 2 กลุ่ม คือ กลุ่ม เครื่อง Macintosh และกลุ่มเครื่อง PC ซึ่งสามารถจัดประเภทของเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ได้ดังนี้

3.1.1 คอมพิวเตอร์ประเภทตั้งพื้น (Tower Case)

Computer

เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีตัวกล่องเครื่องลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมวางตั้นบนพื้น ส่วนจอภาพและแป้นพิมพ์นั้นวางอยู่บนโต๊ะ กล่อง หรือ Case ในที่นี้ก็คือ ส่วนที่ติดตั้งชิ้นส่วนและอุปกรณ์ต่างๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์

3.1.2 ประเภทตั้งโต๊ะ (Desktop)

Desktop Computer

เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ที่เห็นอยู่ทั่วไป นั่นก็คือตัวกล่องเครื่องวางราบบนโต๊ะ และวางจอภาพลงบนเครื่องอีกต่อหนึ่ง

3.1.3 ประเภทวางตัก (Labtop)

Laptop Computer

เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ขนาดเท่ากับเครื่องพิมพ์ดีดกระเป๋าหิ้วขนาดใหญ่ จอภาพแบนใช้เทคโนโลยี LCD (Liquid Crystal Display)

3.1.4 ประเภทสมุดบันทึก (Notebook)

Computer Notebook

มีน้ำหนักเบาแต่มีประสิทธิภาพพอๆกันกันเครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการพกพาไปใช้สถานที่ต่างๆ นอกจากนี้ยังมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ขนาดเล็กกว่าที่เรียกว่า Subnotebook

3.1.5 ประเภทมือถือ (Handheld)

Pocket PC

ไมโครคอมพิวเตอร์ชนิดนี้มีลักษณะคล้ายโทรศัพท์มือถือขนาดใหญ่แต่มีจอภาพเป็นกรอบสี่เหลี่ยมอยู่ด้านบน ลักษณะการใช้งานเพื่อบันทึกข้อมูลต่างๆ เช่น บันทึกหมายเลขวัดไฟฟ้า หมายเลขมาตรวัดน้ำ หรือใช้นับจำนวนสินค้าที่เก็บในคลังเป็นต้น

3.1.6 ประเภทฝ่ามือ (Palmtop) ไมโครคอมพิวเตอร์ประเภทนี้มีขนาดเล็กและมีสมรรถนะในการใช้งานจำกัด เช่น มีหน่วยความจำน้อย มีซอฟแวร์ให้ใช้น้อย และหน่วยความจำสำรองเป็นแผ่นพีซี (PC Card)

3.2 มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputer)

Mini Computer

เครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทนี้ส่วนใหญ่ใช้กันตามสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาหลายแห่ง มินิคอมพิวเตอร์เหมาะกับงานหลายประเภทเช่น วิศวกรรม วิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรม และในด้านของธุรกิจ นอกจากนี้ยังใช้กันตามหน่วยงานของทางราชการอีกด้วย

3.3 เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer)

Computer Mainframe

เมนเฟรมคอมพิวเตอร์มีขนาดใหญ่กว่าและมีประสิทธิภาพสูงกว่าเครื่องมินิคอมพิวเตอร์มาก สามารถรับคำสั่งได้หลายสิบล้านคำสั่งต่อวินาที เหมาะกับงานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลจำนวนมาก เช่น งานของสำนักงานทะเบียนราษฎร์ หรืองานธนาคารเป็นต้น

3.4 ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Supercomputer)

Super Computer

เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในการคำนวณด้วยความเร็วสูง ใช้ในงานสำรวจและวิจัยองค์การขนาดใหญ่ของรัฐบาล การป้องกันประเทศของทหาร ซึ่งจำเป็นต้องใช้ในระบบเครือข่ายขนาดใหญ
กลับหน้าแรก

  http://www.kanchanapisek.or.th    
This site is best veiw with medium size font and 800*600 or higher resolution.
  Copyright©1999  SHARE Internet Cafe
916/14 Norasingh Rd, Mahachai, Samutsakhon
THAILAND