ประเภทของซอฟแวร์

ประเภทของซอฟต์แวร์
Software Match

โดยทั่วไป ซอฟแวร์แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1.ซอฟต์แวร์ระบบ (system software)
2.ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)

ในการทำงานใดๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องมีซอฟต์แวร์ทั้ง 2 ประเภทเพื่อควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยซอฟแวร์ระบบทำหน้าที่ควบคุมส่วนของฮาร์ดแวร์ให้ทำงานอย่างอัตโนมัติ ส่วนซอฟแวร์ประยุกต์นั้นจะทำหน้าที่ควบคุมให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการเพื่อประยุกต์ใช้ในงานด้านต่างๆ

1. ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)
ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบคอมพิวเตอร์ โดยเป็นตัวกลางที่ช่วยให้ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถติดต่อและสั่งงานคอมพิวเตอร์ได้ง่ายขึ้น ซอฟต์แวร์ที่จัดอยู่ในประเภทของซอฟต์แวร์ระบบได้แก่

1.1.โปรแกรมระบบปฏิบัติการ (Operating System : OS)
ระบบปฏิบัติการเป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่ต่อ
พ่วงกับเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการติดต่อกับฮาร์ดแวร์ของเครื่องโดยตรง โปรแกรมใช้งานหรือโปรแกรมประยุกต์ใดๆ ที่ต้องการติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ จะต้องอาศัยการสั่งงานของโปรแกรมระบบปฏิบัติการ เพื่อควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรมระบบปฏิบัติการสำหรับเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ระบบหนึ่ง ก็จะแตกต่างกับโปรแกรมระบบปฏิบัติการของเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ระบบอื่นๆ เป็นต้น โปรแกรมระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ได้แก่ MS-DOS , UNIX, Windows 95 และ Windows98 เป็นต้น

1.2.โปรแกรมอรรถประโยชน์ (Utilities Program)
เป็นโปรแกรมระบบอีกประเภทหนึ่งที่อำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในระหว่างการประมวลผลข้อมูลหรือในระหว่างที่กำลังใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งโดยปกติแล้วโปรแกรมอรรถประโยชน์จะทำงานร่วมกับโปรแกรมระบบปฏิบัติการ เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระหน้าที่ของโปรแกรมระบบปฏิบัติการ ในการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น โปรแกรมที่ทำหน้าที่จัดเตรียมเนื้อที่ในดิสก์ ทำให้สามารถบันทึกข้อมุลลงบนดิสก์ได้ หรือโปรแกรมที่อำนวยความสะดวกในการทำสำเนาข้อมูลของโปรแกรมที่ต้องการเพื่อนำไปใช้ในที่ต่างๆได้ หรือช่วยให้ผู้ใช้สามารถเขียนโปรแกรม สร้างแฟ้มข้อมูล หรือข้อความต่างๆ ลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ เป็นต้น

2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)

ซอฟต์แวร์ประยุกต์ เป็นซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่สร้างขึ้น เพื่อทำงานเฉพาะอย่างโดยประยุกต์ใช้ในงานด้านต่างๆ เช่น ซอฟต์แวร์คำนวณเงินเดือนพนักงาน ซอฟต์แวร์ระบบบัญชี หรือซอฟต์แวร์ระบบคลังสินค้า เป็นต้น โดยซอฟต์แวร์ประยุกต์แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

2.1.ซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่ผู้ใช้พัฒนาขึ้นเอง (Customized Application Software)
เป็นซอฟต์แวร์ที่ผู้ใช้มีความต้องการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานบางอย่างให้ ซึ่งเป็นงานที่ไม่เคย
มีผู้ใดพัฒนาโปรแกรมสำหรับทำงานลักษณะนี้มาก่อน ผู้ใช้จึงต้องพัฒนาโปรแกรมนี้ขึ้นมาเอง โดยการพัฒนาอาจเป็นไปได้ทั้งเขียนโปรแกรมขึ้นมาเอง หรือให้หน่วยงานคอมพิวเตอร์ภายในองค์กรเป็นผู้พัฒนาให้ หรือจ้างบริษัทที่รับจ้างพัฒนาโปรแกรม

2.2.ซอฟต์แวร์ประยุกต์แบบสำเร็จรูป (Package Application Software)
เป็นซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้นเพื่อใช้ประมวลผลงานลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ซึ่งมีผู้พัฒนาไว้เรียบร้อยแล้ว ผูที่ต้องการใช้ซอฟต์แวร์ในลักษณะเดียวกันนี้เพียงแต่ไปซื้อหามาใช้งานได้ทันที โดยไม่ต้องพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อใช้เอง เราสามารถแบ่งซอฟต์แวร์สำเร็จรูปออกเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้

2.2.1 โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการใช้งานด้านการพิมพ์เอกสาร (Word Processing Software)
ในการจัดทำรายงานหรือเอกสารใดๆ ถ้าใช้เครื่องพิมพ์ดีดในการทำงานเมื่อเกิดความผิดพลาดขึ้นก็จำเป็นต้องลบออก หรือไม่ก็พิมพ์ใหม่เพราะเป็นการพิมพ์ลงกระดาษโดยตรง แต่ถ้าใช้ซอฟแวร์จัดพิมพ์รายงานซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่อำนวยความสะดวกในการจัดทำรายงาน การจัดพิมพ์ข้อความ การจัดหน้า จำนวนบรรทัดต่อหน้า และย่อหน้าต่างๆ ซึ่งสามารถทำได้อย่างสะดวกรวดเร็ว นอกจากนี้ยังสามารถแก้ไขเพิ่มเติม ตัดทอนข้อความอย่างไรก็ได้จนกระทั่งพอใจ แล้วจึงส่งออกทางเครื่องพิมพ์เพื่อพิมพ์บนกระดาษ
ความสามารถพิเศษหนึ่งของโปรแกรมประเภทนี้คือ ความสามารถในการตัดคำ (Word-Wrap) นั่นคือการทำให้คำที่เป็นคำสุดท้ายของทุกบรรทัดอยู่เสมอกัน ซึ่งเครื่องพิมพืดีดธรรมดาไม่สามารถทำได้ นอกจากนี้ในปัจจุบันยังทีความสามารถในการเลือกรูปแบบตัวอักษรได้หลายแบบ ซึ่งเป็นลักษณะของ Wysiwyg (What You See Is What You Get) คือ ถ้าผู้ใช้เห็นรูปร่างหน้าตาของตัวอักษรอย่างไรบนจอภาพ เช่น ตัวเอียง ตัวขีดเส้นใต้หรือตัวหนา ก็จะได้ลักษณะแบบนั้น ออกทางเครื่องพิมพ์ด้วย เช่น โปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด เป็นต้น

2.2.2 โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อใช้ในการคำนวณ (Spreadsheet Software)
โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อใช้ในการคำนวณ หรือมีชื่อเรียกโดยทั่วไปว่าเป็น โปรแกรมสเปรทชีท เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการคำนวณ และพิมพ์ผลลัพธ์ต่างๆ ออกมาในลักษณะของตารางและกราฟตามที่ผู้ใช้ต้องการ โดยโปรแกรมจะแบ่งจอภาพออกเป็นแถว (Row) และคอลัมน์ (column) โดยจะเรียกจุดของแต่ละแถวแต่ละคอลัมน์ว่า เซลล์ (Cell) เช่น โปรแกรม โลตัว 1-2-3 หรือโปรแกรมไมโครซอฟต์เอก็กเซล เป็นต้น
ผู้ใช้โปรแกรมนี้สามารถป้อนตัวเลข หรือสูตรทางคณิตศาสตร์เข้าไปในแต่ละเซลล์ แล้วให้เครื่องคอมพิวเตอร์คำนวณผลลัพธ์ทีได้ตามสูตรคณิตศาสตร์นั้นๆ ความสามารถพิเศษของโปรแกรมนี้อยู่ที่สามารถคำนวณหาผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นในลักษณะ “อะไรจะเกิดขึ้นถ้า” (what-if) ซึ่งผู้ใช้เปลี่ยนแปลงตัวเลขที่นำเข้าไปแทนค่าในสูตรทางคณิตศาสตร์ได้ทุกครั้งเท่าที่ต้องการ โดยเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงตัวเลขเกิดขึ้นแต่ละครั้ง โปรแกรมจะทำการคำนวณผลลัพทธ์โดยอัตโนมัติ

2.2.3 โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อใช้จัดการฐานข้อมูล (Database Management Software)
เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการจัดการแฟ้มข้อมูลต่างๆ ในระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ผู้ใช้จัดเก็บข้อมูลที่มีอยู่เป็นจำนวนมากให้เป็นหมวดหมู่ และสามารถค้นหาและเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการออกมาใช้ได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังสามารถทำการแก้ไข จัดเรียง และพิมพ์ข้อมูลและทำหน้าที่คุ้มครองป้องกันแฟ้มข้อมูลไม่ให้สูญหายหรือมีผู้แอบนำข้อมูลไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

2.2.4 โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อใช้ในงานพิมพ์ตั้งโต๊ะ (Desktop Publishing Software)
เป็น ซอฟแวร์ที่ใช้ในการสร้างงานพิมพ์ โดยนำเอาข้อความ รูปภาพ กราฟ หรือ ตารางที่สร้างขึ้นด้วยโปรแกรมประเภทอื่นๆ มารวมกันเป็นเอกสาร 1 หน้ากระดาษ โปรแกรมประเภทนี้จะมีเครื่องมือต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับการออกแบบและการเรียงพิมพ์เอกสารในลักษณะใดก็ได้ ตั้งแต่เอกสารอย่างง่ายไปจนถึงงานที่ซับซ้อน เช่น หัวกระดาษจดหมาย แผ่นพับแบบฟอร์มต่างๆ โบรชัวร์ แผ่นโปสเตอร์ รวมไปถึงแมกกาซีนและหนังสือ เช่น โปรแกรมโคเรลดรอว์ (Corel Draw) โปรแกรม Adobe Pagemaker

2.2.5 โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อใช้ในการด้านกราฟิก (Graphic Software)
เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการสร้างภาพ หรือรูปจำลองที่สามารถเห็นบนจอภาพและพิมพ์ออกมาทาง
เครื่องพิมพ์ได้ โปรแกรมทางด้านกราฟิกแบ่งออกเป็น โปรแกรมชนิดวาด (Paint) และโปรแกรมชนิดเขียน (Draw) ซึ่งทั้ง 2 ประเภทนี้มีการทำงานที่แตกต่างกัน และมีเครื่องมือที่ใช้ในการทำงานแตกต่างกันด้วย โดยโปรแกรมประเภทวาดจะใช้ในการสร้างภาพที่เป็นชนิดบิตแมป (Bit Mapped) คือภาพที่ประกอบด้วยจุดจำนวนมาก ส่วนโปรแกรมประเภทเขียนจะใช้ในการสร้างภาพที่เป็นชนิด เวกเตอร์ (Vector) ซึ่งเป็นภาพที่สร้าขึ้นด้วยสูตรทางคณิตศาสตร์ทำให้ได้เส้นโค้งและมุมต่างๆ ที่มีความเรียบร้อยและคมชัดมากขึ้น เช่น โปรแกรม Microsoft Paintbrush โปรแกรม ABC Chart โปรแกรมฟรีแฮนด์กราฟิก โปรแกรม VISIO Version 4.0 และโปรแกรม Photoshop เป็นต้น

2.2.6 โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อใช้ในงานประมวลผลทางสถิติ (Statistical Software)
เป็นโปรแกรมที่นักวิจัยนิยมใช้ในการประมวลผลหาค่าทางสถิติต่างๆ เช่น โปรแกรม SPSS (Statistical Package for Social Science) ในปัจจุบันจะเป็นโปรแกรม SPSS FOR WINDOWS

2.2.7 โปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับธุรกิจ (Business Software)
ปัจจุบันมีการนำเอางานหลักๆ ที่หลายหน่วยงานจำเป็นต้องใช้มาทำการพัฒนาเป็นโปรแกรมสำเร็จรูป
เช่น โปรแกรมระบบเงินเดือน (Payroll System) โปรแกรมระบบบัญชีแยกประเภท (Ledger) หรือโปรแกรมระบบสินค้าคงคลัง เป็นต้น โปรแกรมเหล่านี้สามารถปรับปรุงเพื่อใช้งานได้กับหลายๆ หน่วยงานได้ โดยที่หน่วยงานเหล่านั้นไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่าย จำนวนมากในการพัฒนาโปรแกรมขึ้นมาใช้เอง